วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่5


คุณครูที่ฉันชื่นชอบ







ประวัติส่วนตัว
1.  ชื่อ  นางพนิตพร  กลางประพันธ์
2.  เกิดวันที่  9  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2515   อายุ   38  ปี
3.  ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันครู  วิทยฐานะชำนาญการ    สถานที่ทำงาน  วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด
      ตั้งอยู่เลขที่ 1  ถนนเทวาภิบาล   ตำบลในเมือง   อำเภอเมือง   จังหวัดร้อยเอ็ด  รหัสไปรษณีย์  45000        
      โทรศัพท์  (ที่สามารถติดต่อได้)  043-511289  ต่อ  153
4.  ที่อยู่ปัจจุบัน  เลขที่  29  ตำบลอัคคะคำ  อำเภอโพธิ์ชัย  จังหวัดร้อยเอ็ด  รหัสไปรษณีย์  45230 
     โทรศัพท์  (ที่สามารถติดต่อได้)  089-9426286


ประวัติการศึกษา
วุฒิการศึกษา
ปี  พ.ศ.ที่สำเร็จการศึกษา
ชื่อสถาบัน
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)
2532
โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม
ศิลปศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
2536
วิทยาลัยครูมหาสารคาม
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  (บริหารการศึกษา)
2551
มหาวิทยาลัยรามคำแหง


ประวัติการทำงาน  (ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงปัจจุบัน)
วัน  เดือน - ปี
ตำแหน่ง
สถานที่ทำงาน
             24  ตุลาคม  2537
อาจารย์ 1  ระดับ 3
วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
             5  มกราคม  2541
อาจารย์ 1  ระดับ 4
วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด
             1 กุมภาพันธ์  2549
        ครูชำนาญการ
วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด



ผลงานที่ชื่นชอบ

               -ดำเนินโครงการอาชีวศึกษาร่วมด้วยช่วยประชาชน เทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2552
               -ดำเนินโครงการอาชีวศึกษาร่วมด้วยช่วยประชาชน เทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2552
               -ได้รับรางวัลการประกวดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่น ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               -ได้รับรางวัลการประกวดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนดีเด่น ระดับชาติ
               -ได้รับรางวัลครูผู้สอนดีเด่น ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
               -ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษา


















นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
           สามารถนำแบบอย่างทั้งในการปฏิบัติงาน ท่านปฎิบัติงานในหน้าที่ทั้งในและนอกเวลาสิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ท่านจะปฎิบัติอย่างเต็มใจและไม่บ่นและท่านให้ความเอาใจผู้เรียนโดยให้การอบรมชี้แนะ ให้ข้อมูลข่าวสาร สาระน่ารู้ อันเป็นประโยชน์แก่ลูกศิษย์ทุกคน  พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนทุกระดับชั้น ทุกแผนกวิชาให้เป็นผู้มีคุณภาพ และมีความรู้ คู่คุณธรรม  ให้บริการผู้ปกครองโดยการประสานงานแจ้งผลการขาดเรียนตลอดจนความประพฤติ และปรึกษาหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาผู้เรียนซึ่งในอนาคตเราก็จะไปเป็นแม่พิมพ์ของชาติเราสามารถเอาแนวคิดและกระบวนการของท่านมาประยุกต์ใช้ในเวลาเราเป็นครูเพื่อที่จะเป็นครูที่ดีและสมบูรณ์แบบเหมือนท่านคะ           




วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่4




สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  จะทำงานได้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้และสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและจะจำเป็นต้องกะทำด้วยสุจริตทั้งกายและใจ จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร  และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว  แต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
ทีม (Team) หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ “การทำงานเป็นทีม” เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่
             1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
    2.แรงจูงใจของมนุษย์
    3.ธรรมชาติของมนุษย์
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพควรเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน  เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา  สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน  ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์  ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา  มีการพัฒนาตนเอง  รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ


1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
แนวคิดและหลักการทำงานเป็นทีมนั้นควรมี 3 ประการคือ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีแรงจูงใจของ ธรรมชาติของมนุษย์
2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพนั้นเราควรมีความสามรถในการใช้วิชาความรู้และความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและในการทำงานนั้นไม่ควรมีการแบ่งหน้าที่ไปด้วยตนเองเราควรปรึกษาหารือกัน เพราะเราจะได้รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น และได้เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี และสมาชิกต้องทุ่มเทกำลังกาย ความคิด  เพื่องานจะได้ประสบความสำเร็จและทุกคนจะต้องตระหนักเสมอว่างานที่ที่สำเร็จนั้นเป็นผลงานของทีม ไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง 

กิจกรรมที่3


 
     1)การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21  เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร

ในยุคศตวรรษที่ 21  เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง  การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต การเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน  และจะมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้   การศึกษาจะเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น ทำให้มนุษย์ในยุคนี้ไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง และไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  ถ้าคนใดจดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อย

ส่วนในยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal)ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้  มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ในยุคนี้การศึกษาเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ มนุษย์สามารถเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร ในยุคนี้ มนุษย์ทุกคนได้รับการกล่อมเกลา และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว
     2)ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตาม    แนวคิดของนักศึกษ

ในอนาคตข้างหน้าครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ในเรื่่องต่างๆให้มากขึ้น นอกจากความรู้ในศาสตร์ของตนเองเพื่อที่จะได้พัฒนาการสอนให้ดีขึ้นเเละมีประสิทธิภาพในการสอนที่เหมาะสมเเละถูกต้องชัดเจน จะต้องรอบรู้ในทุกๆๆด้าน เพราะโลกของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมกับการเป็นครูที่ดี  เพื่อที่จะได้เป็นครูที่ดี เเละเป็นครูที่มีความรัก ความเมฆตา มีน้ำใจต่อศิษย์ เพื่อเป็นครูที่มีศักยภาพสูงสุด เเละเป็นครูที่ดีสามารถเป็นเเบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ได้

กิจกรรมที่2


                    ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ
1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) คือ ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) คือ ความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) คือ ความต้องการที่จะเป็นที่รักและมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) คือ ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ เป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต (Self-Actualization Needs) คือ ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพ
ดังนั้นจากแนวคิดของมาสโลว์ สรุปได้ว่า มนุษย์ย่อมมีความต้องการเป็นลำดับขั้นตอน จากพื้นฐานการดำรงชีวิตทั้งทางร่างกาย จิตใจ รวมถึงการมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น ความมั่นใจในตนเองและการเข้าใจในตนเองตามความเป็นจริง
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เป็นทฤษฎีการมองต่างมุมทฤษฎี X (Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าไม่กระตือรือร้น ส่วนทฤษฎี Y (Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่า รับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหา

William Ouchi :
ทฤษฎี Z  เป็นทฤษฎีพันธ์ผสมต้องคิดนอกกรอบมองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์
ทฤษฎี A คือ American Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
                1.)       Individualism คือ มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง
2.)       Short Term Employment คือ มีความพร้อมในการทำงาน 
3.)       Individual Decision Making คือ มีความมั่นใจในการตัดสินใจ                                                          Henry Fayol : เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะและมุ่งเน้นที่กิจกรรม   ซึ่งประกอบด้วย
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) มีประสบการณ์ด้านการบริหาร คือ
การจัดแบ่งงาน (division of work)
การมีอำนาจหน้าที่ (authority)
ความมีวินัย (discipline)
เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command)
เอกภาพในทิศทาง (unity of direction)
ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน  
(Subordination of Individual Interests to the General Interests)
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
เห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม มี 6 ประการมีดังนี้ คือ 
1. องค์การ
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy)
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection)
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality)
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg) สัมภาษณ์ความพึงพอใจจากการทำงาน ของมนุษย์จะประกอบด้วย ปัจจัย คือ
                     ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors  ได้แก่
* -นโยบายขององค์กร
* -การบังคับบัญชา
* -ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
* -สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน
* -ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ
* -ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
                 ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors    ได้แก่
* -การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
* -การได้รับการยอมรับ
* -ทำงานได้ด้วยตนเอง
* -ความรับผิดชอบ
* -ความก้าวหน้าในงาน
* -การเจริญเติบโต

                        
                           การบริหารการศึกษา
บทที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร  เริ่มใช้ตั้งแต่อาณาจักรโรมันจากกลุ่มนักรัฐศาสตร์  ซึ่งเป็นการจัดการหรือควบคุมกิจการต่าง ๆ ของรัฐ ส่วนการบริหารของรัฐ  คือ  การบริหารในด้านรายละเอียดอย่างมีระเบียบ ความสำคัญของการบริหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพให้ความสุขและรู้จักการพัฒนาตนเอง   
การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่าง ๆ  ที่ร่วมกันดำเนินการ   เพื่อพัฒนาในทุกด้านถือเป็นวิชาชีพชั้นสูง เพราะต้องได้รับการอบรมมากจะเป็นนักบริหารได้ และผู้บริหารที่ดีได้จะต้องมีความสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์อย่างมี ศิลปะ 
บทที่  2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการเน้นพฤติกรรมองค์การและเรื่องของมนุษยสัมพันธ์  ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน” การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ วัตถุประสงค์ของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  ผลประโยชน์นายทุนเป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร จะแบ่งได้ดังนี้ในยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิมจะจัดการงานซึ่งได้ปฏิบัติ ยุคที่ 2  ยุค  Human  Relation  Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ความรู้ความชำนาญของผู้ บริหาร  คือ  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความฉลาด  และมีประสบการณ์เพื่อมาเป็นผู้นำสามารถนำหลัก มนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารการศึกษา ส่วนในยุคที่3  ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ เป็นการจัดองค์การที่เป็นทางการจึงให้ทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล  มุ่งด้านระบบขององค์การ
บทที่  3 งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการ มีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้ 
1.การผลิต  คือ กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน คือ  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี คือ  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่  4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การ บริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2 เรื่อง คือ 1.การจัดระบบสังคม 2.เป้า หมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน คือจะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียน อย่างเท่าเทียมกันโดยกระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
บทที่  5 องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ ตามแนวคิด หมายถึงส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์  กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่
แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  “ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
ความสำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
องค์ประกอบในการจัดองค์การ
 1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
 2.  การแบ่งงานกันทำ
 3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อการแลกเปลี่ยน ความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการ ในองค์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า เพื่อเกิดแรงจูงใจ
บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่น
บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆร่วมมือปฎิบัติงาน เพื่อให้งานดำเนินสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานงานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน 
บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การ ตัดสินใจคือ การชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือ การสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือก หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้ 
  1.การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะสำคัญของงานวิชาการจะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และผู้บริหารจะต้องรับรู้ รับผิดชอบ ควบคุมดูแลในการดำเนินการวางแผน  
 2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ  ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้เลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุด