วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่8



                                             ครูในอุดมคติของข้าพเจ้า


                      
         
จะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเมตากรุณา  มีจรรยาบรรณของความเป็นครู จะต้อง

ประพฤติตนเป็นเเบบอย่างที่ดีเเก่ลูกศิษย์ เป็นคนตรงต่อเวลา มีความยุติธรรมในการให้คะเเนน วางใจ

เป็นกลางในการให้คะแนน ไม่เข้าข้างคนใดคนหนึ่ง ให้ความเสมอภาคกบศิษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน เป็น

คมมีเหตุผล รักและเอาใจใส่ดูเเลลูกศิษย์ มีบุคลิกภาพที่ดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาอ่อนหวาน ไม่

พูดคำหยาบ มีระเบียบวินัย เสียสละ และจะต้องมีความรู้ความสามารถ และเข้าใจในเนื้อหาที่สอนอย่าง

ชัดเจนไม่มัเอาเอง และมีความพร้อมที่จะสอนอยู่ตลอดเวลา

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจรรมสอบกลางภาคเรียน


บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
              ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรากล่าวเสมอว่าทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน  เพราะตลอดระยะเวลาที่ได้ถวายงานมา  30  ปี นั้นได้ทรงสอนเรื่องแผ่นดินให้รู้จักเข้าใจดินน้ำลมไฟ  สอนให้รู้จักชีวิตสอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น และด้วยพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ที่เกี่ยวกับครูพระองค์ท่านเคยรับสั่งบอกว่า  “ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนเป็นสำคัญทำให้เราเห็นว่าพระองค์ท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ในความเป็นครูของพระองค์ท่านและยังสอนให้เราอยู่เศรษฐกิจพอเพียงได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
คือ ในการปลูกฝังความรู้  ความคิด  และจิตใจของเยาวชน โดยมีหลักวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้น  และแจ่มแจ้ง มีทั้งคุณความดี  และเอื้ออารีปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด  เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดี  นอกจากนี้สอนให้ผู้เรียนดำรงชีวิตอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการเรียนการสอนไปด้วย
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
              คือ จะเริ่มต้นจากการเสริมสร้างผู้เรียนให้มีการเรียนรู้วิชาการและทักษะต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆและอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียงได้ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้ จนผู้เรียนสามารถทำตนให้เป็นพึ่งของตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด
บทความเรื่อง  วิถีแห่งสตีฟจ๊อบ 
โดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
 1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ 
                         การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา และ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล    
                        สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา  พบว่า  การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  และการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้สูง  และอัตราเรียนต่อสูงขึ้นทุกปี  อัตราการออกกลางคันลดลง  ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเรียนสูงขึ้น  แต่สถานศึกษาในชนบทส่วนใหญ่   เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก  ครูผู้สอนมีน้อย และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มากนัก เพราะเรียนแค่ ม.3 หรือ ม.6 เท่านั้น จึงทำให้การว่างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร 
                
เมื่อดิฉันเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ครู  ผู้บริหาร  บุคลากรทางการศึกษา  และสถานศึกษา นอกจากนี้ดิฉันขอน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หลักการทำงานและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  เป็นแนวทางการพัฒนา 
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร          
     ในอนาคตดิฉันคงจะได้เป็นครูผู้สอน และดิฉันก็สามารถที่จะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้อย่างเข้าใจเป็นภาษาของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวันและจัดการสอนกันอย่างเป็นระบบ

กิจกรรมที่7


ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน
สอนเรื่องฉันรักบ้านเกิดสอนโดย
คุณครูประจักษ์ เอี้ยงเขื่อน โรงเรียนสว่างอารมณ์วิทยาคม  
ระดับชั้นที่สอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
            ต้องการให้นักเรียนภูมิใจในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัย กิจกรรมการเรียนนั้น ครูสอนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเกื้อหนุนต่อนักเรียนในท้องที่นั้น นักเรียนจะได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจังหวัดของตนเอง ในด้านต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครอง สภาพเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติของตนเอง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจังหวัดของตนเองแล้วนั้นทำเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และหวงแหน ในท้องถิ่นของตนเองที่อาศัย มีการรักท้องถิ่นของตัวเอง 
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
    ด้านสติปัญญา
-  คุณครูถามคำถามเรื่องท้องถิ่นของนักเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามจากความคิดของตนเองแล้วนำมาเขียนลงบนกระดาน
นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้เพื่อที่จะนำไปวางแผนในการสำรวจชุมชน
    ด้านอารมณ์
- นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการวางแผนทำโครงงาน
นักเรียนได้สอบถามหาความรู้เพิ่มเติมจากชาวบ้านในชุมชน
นักเรียนกล้าที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
    ด้านคุณธรรมจริยธรรม
นักเรียนในกลุ่มให้ความร่วมมือกันในการวางแผนลงสำรวจชุมชนอย่างสามัคคี ไม่เอาเปรียบกันในการทำงาน ช่วยเหลือกันในการทำโครงงานช่วยเหลือกนอย่างเต็มที่
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไ
ให้นักเรียนนั่งรวมกันเป็นกลุ่มทำให้ปรึกษาร่วมกันได้
ติดพัดลมภายในห้องเรียนทำให้นักเรียนไม่ร้อนจึงมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น
มีการติดข้อมูลความรู้ต่างๆไว้บริเวณห้องเพื่อให้นักเรียนไว้อ่านเพิ่มเติมความรู้
มีอุปกรณ์ช่วยสอน เช่น กระดาน เครื่องเล่นวีดีโอ โทรทัศน์ ฯลฯ ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่สะดวกขึ้น

กิจกรรมที่6


                                                     เรื่องที่สนใจคือ การทำขนมไทย  
 การทำขนมไทยนั้น สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน โดยสามารถแยกออกเป็น วิธีหลักๆ ดังนี้
1. ต้ม : คือ การนำวัตถุดิบใส่หม้อพร้อมกับน้ำหรือกะทิ ตั้งไฟให้เดือดจนสุก การทำขนมที่ต้องต้ม และเป็นขนมที่ใช้ใบตองห่อ ต้องห่อให้สนิท ใบตองต้อง ไม่แตก เช่นข้าวต้ม แกงบวด ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ฯลฯ
2. นึ่ง : คือ การทำอาหารให้สุกโดยใช้ไอน้ำ โดยใส่ขนมลงไปในลังถึง ปิดฝา ตั้งไฟให้น้ำเดือด นึ่งจนขนมสุก ส่วนมากจะเป็นขนมที่มีไข่เป็นส่วนผสม เช่น สาลี่ ชนมชั้น สอดไส้ ฯลฯ เวลาและความร้อนที่ใช้ในการทำนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของขนมนั้นๆ
ขนมหวานไทย : แกงบวดฟักทอง   ขนมหวานไทย : ทองหยอด

3. ทอด : คือ การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนทั่วแล้วจึงใส่ขนมที่จะทอดลงไป ขนมบางชนิดใช้น้ำมันมาก เรียกว่า ทอดน้ำมันลอย ใช้ไฟปานกลางสม่ำเสมอ บางชนิดใช้น้ำมันน้อย ใช้กระทะก้นตื้น ตัวอย่างขนมที่ใช้วิธีทอดได้แก่ ข้าวเม่าทอด ทองพลุ ฯลฯ
4. จี่ : คือ การทำขนมให้สุกในกระทะโดยใช้น้ำมันแต่น้อย ทาที่กระทะพอลื่น กระทะที่จะใช้จี่ต้องเป็นกระทะเหล็กหล่อแบน กว้าง เนื้อเหล็กหนา การจี่ใช้ไฟอ่อน ตั้งกระทะให้ร้อนรุมอยู่ตลอดเวลา และกลับขนมให้เหลืองเสมอกันทั้งสองด้าน เช่น แป้งจี่
5. เจียว : คือ การทำให้เครื่องปรุงเหลืองกรอบโดยใช้น้ำมัน เช่น หอมเจียว การเจียว หอมเพื่อโรยหน้าขนม หัวหอมควรซอยชิ้นให้เสมอกัน เวลาจะเจียวจะสุกพร้อมกัน มีสีเหลืองสวย น้มันที่เจียวไม่ควรมากเกินไป กะพอใส่ของลงไปแล้วพอดี ใช้ตะหลัวกลับไปกลับมาจนเหลืองกรอบ เจียวจนน้ำมันเหลือติดก้นกระทะเล็กน้อย แต่ระวังหอมไหม้
6. ปิ้ง : คือ การทำอาหารให้สุกโดยการวางขนมที่ต้องการปิ้วไว้เหนือไฟ มีตะแกรงรองรับ ไฟไม่ต้องแรงนัก กลับไปกลับมาจนขนมสุก ขนมบางชนิดใช้ใบตองห่อ แล้วปิ้งจนเกรียม หรือกรอบ เช่นขนมาก ข้าวเหนียวปิ้ง ก่อนจะปิ้งควรใช้ขี้เถ้ากลบถ่านไว้ เพื่อให้ความ ร้อนที่ได้สม่ำเสมอกัน
7. ผิงและอบ : ขนมที่ใช้ผิงมีหลายชนิด จะใช้ผิงด้วยไฟบนและไฟล่าง ไฟจะต้องมีลักษณะ อ่อนเสมอกัน ปัจจุบันนิยมใช้เตาอบแทนการผิง เพราะควบคุมความร้อนได้ง่ายกว่า ขนมไทยที่ใช้วิธีการผิงและอบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง สาลี่กรอบ ขนมผิง ฯลฯ
ขนมหวานไทย : ขนมทองหยิบ
ขนมหวานไทย : ขนมหม้อแกง