เรื่องที่สนใจคือ การทำขนมไทย
การทำขนมไทยนั้น สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน
โดยสามารถแยกออกเป็น วิธีหลักๆ ดังนี้
1. ต้ม : คือ การนำวัตถุดิบใส่หม้อพร้อมกับน้ำหรือกะทิ
ตั้งไฟให้เดือดจนสุก การทำขนมที่ต้องต้ม และเป็นขนมที่ใช้ใบตองห่อ ต้องห่อให้สนิท
ใบตองต้อง ไม่แตก เช่นข้าวต้ม แกงบวด ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ฯลฯ
2. นึ่ง : คือ การทำอาหารให้สุกโดยใช้ไอน้ำ
โดยใส่ขนมลงไปในลังถึง ปิดฝา ตั้งไฟให้น้ำเดือด นึ่งจนขนมสุก
ส่วนมากจะเป็นขนมที่มีไข่เป็นส่วนผสม เช่น สาลี่ ชนมชั้น สอดไส้ ฯลฯ เวลาและความร้อนที่ใช้ในการทำนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของขนมนั้นๆ
3. ทอด : คือ การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน
โดยใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟให้ร้อนทั่วแล้วจึงใส่ขนมที่จะทอดลงไป
ขนมบางชนิดใช้น้ำมันมาก เรียกว่า ทอดน้ำมันลอย ใช้ไฟปานกลางสม่ำเสมอ
บางชนิดใช้น้ำมันน้อย ใช้กระทะก้นตื้น ตัวอย่างขนมที่ใช้วิธีทอดได้แก่ ข้าวเม่าทอด
ทองพลุ ฯลฯ
4. จี่ : คือ การทำขนมให้สุกในกระทะโดยใช้น้ำมันแต่น้อย
ทาที่กระทะพอลื่น กระทะที่จะใช้จี่ต้องเป็นกระทะเหล็กหล่อแบน กว้าง เนื้อเหล็กหนา
การจี่ใช้ไฟอ่อน ตั้งกระทะให้ร้อนรุมอยู่ตลอดเวลา
และกลับขนมให้เหลืองเสมอกันทั้งสองด้าน เช่น แป้งจี่
5. เจียว : คือ การทำให้เครื่องปรุงเหลืองกรอบโดยใช้น้ำมัน
เช่น หอมเจียว การเจียว หอมเพื่อโรยหน้าขนม หัวหอมควรซอยชิ้นให้เสมอกัน
เวลาจะเจียวจะสุกพร้อมกัน มีสีเหลืองสวย น้มันที่เจียวไม่ควรมากเกินไป
กะพอใส่ของลงไปแล้วพอดี ใช้ตะหลัวกลับไปกลับมาจนเหลืองกรอบ
เจียวจนน้ำมันเหลือติดก้นกระทะเล็กน้อย แต่ระวังหอมไหม้
6. ปิ้ง : คือ การทำอาหารให้สุกโดยการวางขนมที่ต้องการปิ้วไว้เหนือไฟ
มีตะแกรงรองรับ ไฟไม่ต้องแรงนัก กลับไปกลับมาจนขนมสุก ขนมบางชนิดใช้ใบตองห่อ
แล้วปิ้งจนเกรียม หรือกรอบ เช่นขนมาก ข้าวเหนียวปิ้ง
ก่อนจะปิ้งควรใช้ขี้เถ้ากลบถ่านไว้ เพื่อให้ความ ร้อนที่ได้สม่ำเสมอกัน
7. ผิงและอบ : ขนมที่ใช้ผิงมีหลายชนิด จะใช้ผิงด้วยไฟบนและไฟล่าง
ไฟจะต้องมีลักษณะ อ่อนเสมอกัน ปัจจุบันนิยมใช้เตาอบแทนการผิง
เพราะควบคุมความร้อนได้ง่ายกว่า ขนมไทยที่ใช้วิธีการผิงและอบ ได้แก่ ขนมหม้อแกง
สาลี่กรอบ ขนมผิง ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น